วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

แนะนำบล็อก


แนะนำบล็อกครับ

ขอแนะนำบล็อกแก่เพื่อนๆชาวเฟสครับ บล็อกที่สร้างขึ้นมานี้เป็นที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค (e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาครุศาสตร์สาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่3ที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสาน
สนเทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า atinno.blogspot.com
มีหนังสือนิทานอีบุ้คที่เป็นฝีมือของนักศึกษาในหลายๆ สาขา หลายเรื่องน่าอ่านและสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วย

นอกจากนี้ก็ยังรวมผลงานการจัดทำบล็อกของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา จัดทำเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับความรู้ที่น่าสนใจไว้มากมาย
ตัวอย่างบล็อกครับ มีให้เลือชมมากมาย และใครที่สนใจจะสร้างอีบุ๊คและหนังสือทำมือเชิญเลยน่ะครับ แวะเข้ามาชมบล็อกของผมได้ที่http://nongpeaw.blogspot.com/

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

นิทานเรื่อง น้องฟ้าจอมโมโห




นิทานเรื่องน้องฟ้าจอมโมโห

                      บ้านหลังหนึ่งมีแม่ดวงดาวอาศัยอยู่กับลูกสาวชื่อ  ฟ้า   ในบ้านมีข้าวของเลอะเทอะเต็มไปหมด ฟ้าไม่ยอมเก็บของเข้าที่เลยหาของไม่เจอ  แม่ดวงดาวและฟ้าเดินสะดุดของที่พื้นหกล้มทำให้โมโห  หงุดหงิด เวลากินข้าวถ้าวันไหนฟ้ารีบแล้วคุณแม่ทำอาหารไม่ทัน  ฟ้าก็จะโวยวายและสุดท้ายก็ไม่ยอมทานข้าวเลย  ฟ้าเป็นเด็กขี้โมโหพูดไม่เพราะและเสียงดังมาก  ชอบเล่นแรงทำให้เพื่อนๆเจ็บตัวจึงไม่มีใครมาเล่นด้วยเลยลือกันว่าฟ้าเป็นแม่มดใจร้าย  อยู่มาวันหนึ่งมีพี่น้องสองคนชื่อเมฆและหมอกเล่นโยนลูกบอลหายไปที่ชายป่า  ทั้งสองเดินหาลูกบอลจนหลงทาง หาทางกลับบ้านไม่ได้  เด็กทั้งสองเห็นบ้านหลังหนึ่ง  เจอฟ้ากับแม่อาศัยอยู่  เด็กๆเดินร้องไห้ไปหาและบอกว่า  " พวกหนูหลงทางกลับบ้านไม่ถูกครับ  มืดแล้วหนูกลัวและหิวข้าวค่ะ " ฟ้าและแม่สงสารเด็กทั้งสองเลยให้เข้ามาเล่นในบ้าน  ทั้งสองเล่นของเล่นที่ฟ้าเอาให้เล่นพอเล่นเสร็จก็เก็บเข้าที่อย่างเรียบร้อย  แม่ดวงดาวผู้ใจดีทำอาหารให้เด็กๆทาน  เมฆและหมอกกล่าวขอบคุณพร้อมยกมือไหว้  พูดจาไพเราะแม่ดวงดาวและฟ้ามีความสุขมาก  หลังจากทานข้าวเสร็จเด็กน้อยทั้งสามคนช่วยกันล้างจาน  เก็บโต้ะอาหารอย่างเรียบร้อย  ฟ้าจึงถามเด็กทั้งสองคนว่า " ทำไมพวกเธอถึงมีความสุขและอารมณ์ดีจังเลย   แต่เราเหงาๆ  ไม่มีเพื่อนเลย "  เด็กทั้งสองตอบว่า " เพราะเราพูดจาไพเราะกับทุกคนไง"  เด็กทั้งสามเข้านอนอย่างมีความสุข  เพราะได้ฟังนิทานจากแม่ดวงดาว  ฟ้าบอกแม่ว่าต่อไปนี้ฟ้าจะเป็นเด็กดี  ฟ้าจะไม่ขี้โมโห  เพราะฟ้าอยากมีความสุขและอารมณ์ดีเหมือนกับเมฆและหมอก  แม่ดวงดาวยิ้มอย่างมีความสุขส่งเด็กๆเข้านอน   เช้าวันรุ่งขึ้นฟ้ากับแม่ไปส่งเด็กๆที่บ้านพ่อแม่ของเมฆและหมอกดีใจมากหลังจากที่ตามหาเด็กๆทั้งคืน ครอบครัวของเมฆพาฟ้าและแม่เดินชมสวนเด็กๆวิ่งเล่นกันอย่างสนุกสนาน  ตั้งแต่นั้นมาฟ้าก็เป็นเด็กดี  ช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ  ไม่ขี้โมโห  มีเพื่อนมาเล่นด้วยมากมาย  จากนั้นฟ้าก็เป็นเด็กที่มีความสุขที่สุดในโลกเลย























วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาษาง่ายๆๆ แบบครูลินลี่


การโต้วาที




                                    วิธีการโต้วาที
    เริ่มจาก
     ประธานหรือผู้ดำเนินการโต้วาทีจะกล่าวเปิดการโต้วาที
     หัวหน้าฝ่ายเสนอ แล้วจึงสลับไปเป็นหัวหน้าฝ่ายค้าน
     ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่1 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่1
     ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่2 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่2
     เมื่อหมดเวลาการโต้วาที ผู้ดำเนินการโต้วาทีจะให้ หัวหน้าฝ่ายค้านสรุป จากนั้นหัวหน้าฝ่ายเสนอสรุป เพื่อจะได้มีโอกาสที่จะพูดแก้เหตุผลของฝ่ายค้านได้อย่างเต็มที่

การพูดแสดงปาฐกถา





                                                       ปาฐกถา 
                  คือ การพูดหรือบรรยายแบบให้ความรู้แก่ผู้ฟังจำนวนมาก ซึ่งผู้พูด อาจเป็นแขกผู้มีเกียรติ หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเชิญให้มาพูดในหัวข้อเรื่องที่กำหนดไว้ตามสถาบัน สมาคม สโมสร การแสดงปาฐกถามิใช่เป็นการพูดเฉพาะเชิงวิชาการเท่านั้น อาจจะพูดถึงประสบการณ์หรือความคิดเห็น ซึ่งเป็นการให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ
ปัจจุบันการแสดงปาฐกถามักจะจัดเสมอ ตามโรงแรม สโมสร สมาคม บริษัทในช่วงเวลารับประทานอาหารกลางวัน อาหารเน็ย หรือจัดแทรกในระหว่างการประชุมสัมนาตามโอกาสสมควร ดังนั้น องค์ปาฐกถาที่ปรากฎในการประชุมต่างๆ มักจะเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงเฉพาะเรื่องนั้นๆจึงได้รับเชิญอยูว่เสมอ หากหน่วยงานใดต้องการที่จะเชิญแล้ว จะต้องเตรียมทาบทามล่วงหน้าเป็นระยะเวลานานพอสมควร มิฉะนั้นท่านอาจจะไม่ได้องค์ปาฐกถาที่ต้องการ
การทาบทามเชิญองค์ปาฐกถาจำเป็นต้องระบุหัวข้อแนวทางที่ต้องการให้พูด และบุคคลที่จะเป็นผู้ฟังนั้นเป็นใครมีพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์อย่างไร และมีจำนวนเท่าใด เพราะผู้พูดจะได้เตรียมเอกสาร สื่อการสอนให้อย่างเหมาะสม สนองตอบวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ
กิจกรรมของการแสดงปาฐกถาจะมีลำดับกิจกรรมซึ่งสรุปได้ดังนี้ คือ
1. พิธีเปิดการปาฐกถา กล่าวแนะนำองค์ปาฐกถาว่าเป็นใคร ตำแหน่งหน้าที่การงาน ความชำนาญพิเศษ ประวัติการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน
2. องค์ปาฐกถาแสดงปาฐกถา
3. องค์ปาฐกถาตอบคำถามจากผู้ฟัง
4. การปิดปาฐกถา กล่าวคำขอบคุณองค์ปาฐกถาและมอบของที่ระลึก

งานพิธีกร




 คนที่เป็นพิธีกรที่ดี มีความสามารถจะต้องมีการฝึกฝนเรียนรู้ในหลักการ กลยุทธ์ในการพูดคุยต่าง ๆ ดังนี้ เช่น
• เตรียมพร้อม
• ซ้อมดี
• ท่าทีสง่า
• หน้าตาสุขุม
• ทักที่ประชุมอย่าวกวน
• เริ่มต้นให้โน้มน้าว
• เรื่องราวให้กระชับ 
• จับตาที่ผู้ฟัง 
• เสียงดังให้พอดี 
• อย่าให้มีอ้ออ้า 
• ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา
บุคคลที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีการเตรียมความพร้อมและเตรียมตัวในการทำหน้าที่ จะมี กลุ่มคือ
1. รู้ตัวก่อนและจะต้องเตรียมตัว
2. ไม่รู้มาก่อน จะต้องไปใช้ปฏิภาณ ไหวพริบทุกคนทำได้

ตัวอย่างการอ่านข่าวในพระราชสำนัก


ภาษาของวัยรุ่นปัจจุบัน


การพูดเพื่อความบันเทิง





การพูดเพื่อความบันเทิง
ความหมายของการพูด
การพูดเป็นพฤติกรรมทางภาษาที่ควบคู่ไปกับการฟังเพื่อการสื่อความหมายระหว่างมนุษย์  เป็นการเปล่งเสียงออกมาเป็นภาษาเพื่อถ่ายทอดความรู้  ความคิด  ความรู้สึก หรือความต้องการของผู้พูดไปยังผู้ฟัง  โดยใช้ถ้อยคำ  น้ำเสียง  และอากัปกิริยา  จนเป็นที่เข้าใจกันได้
 
องค์ประกอบของการพูด
               ๑. ผู้พูด 
ผู้พูดเป็นผู้ที่จะต้องถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ตลอดจนทัศนคติของตนสู่ผู้ฟังโดยใช้ภาษา เสียง อากับกิริยาและบุคลิกภาพของตนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงมารยาทและคุณธรรม ในการพูดด้วย
๒.  สาระหรือเรื่องราวที่พูด
คือ เนื้อหาสาระที่ผู้พูดพูดออกไป ซึ่งผู้พูดจะต้องคำนึงอยู่เสมอว่า สาระที่ตนพูดนั้นจะต้องมีประโยชน์ต่อผู้ฟัง อีกทั้งควรเป็นเรื่องที่ใหม่ ทันสมัย เนื้อหาจะต้องมีความชัดเจน ผู้พูดต้องขยายความคือ ความรู้ที่นำเสนอสู่ผู้ฟังให้มีความกระจ่าง ซึ่งอาจขยายความด้วยการยกตัวอย่างแสดงด้วยตัวเลข สถิติ หรือยกหลักฐานต่าง ๆ มาอ้างอิง
๓. ผู้ฟัง
                ผู้พูดกับผู้ฟังมีความสัมพันธ์กัน โดยผู้พูดต้องเร้าความสนใจผู้ฟังด้วยการใช้ภาษา เสียง กิริยาท่าทางบุคลิกภาพของตน ในขณะเดียวกันผู้ฟังก็มีส่วนช่วยให้การพูดของผู้พูดบรรลุจุดหมายได้โดยการตั้งใจฟัง และคิดตามอย่างมีเหตุผล ก่อนจะพูดทุกครั้งผู้พูดต้องพยายาม ศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวกับผู้ฟังให้มากที่สุด เช่น จำนวนผู้ฟัง เพศ ระดับการศึกษา ความเชื่อและค่านิยม ความสนใจของผู้ฟัง เป็นต้น การวิเคราะห์ผู้ฟังล่วงหน้า นอกจากจะได้นำข้อมูล มาเตรียมการพูดให้เหมาะสมแล้ว ผู้พูดยังสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่อาจจะเกิดขึ้นได้เหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย
 
การพูดเพื่อความบันเทิง
การพูดเพื่อจุดมุ่งหมายนี้เป็นการพูดที่มุ่งให้ผู้ฟัง เกิดความเพลิดเพลิน รื่นเริง สนุกสนานผ่อนคลายความตึงเครียด ในขณะเดียวกันก็แทรกเนื้อหาสาระ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังด้วยผู้พูด จะต้องเป็นบุคคลที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน   หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสไม่เป็นคนเคร่งเครียดเอาจริงเอาจังเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองให้เกิดขึ้นได้ ดังจะเห็นได้จากรายการต่างๆ ทาง สื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นวิทยุโทรทัศน์

วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง



วิธีปรับปรุงน้ำเสียง
๑.      พูดให้เสียงดังฟังชัด
การพูดให้เสียงดังไว้ก่อน  ได้ผลดีเสมอ  อย่างน้อยก็เป็นการปลุกผู้ฟังให้ตื่น  และแสดงถึงความเชื่อมั่นในตนเอง 
                  มีปัญหาว่า ดังแค่ไหนจึงจะนับว่าพอดี   
                  คำตอบก็คือ  ดังพอที่ผู้ฟังทั้งห้องได้ยิน  ผู้ฟังน้อยก็ดังพอประมาณ   ผู้ฟังมากถ้าไม่มีเครื่องขยายเสียงก็ต้องดังมากจนเกือบตะโกน  แต่ถ้ามีเครื่องขยายเสียงที่ดี  ก็ไม่จำเป็นต้องตะโกน เพราะอาจดังเกินความจำเป็น  จนกลายเป็นแสบแก้วหู
                  ปัญหาต่อไปก็คือ  จะทราบได้อย่างไรว่า  ผู้ฟังทุกคนได้ยิน
                  ตอบได้ว่า  จงคะเนให้ผู้ฟังที่นั่งอยู่แถวหลังสุดได้ยิน  ก็นับว่าเพียงพอแล้ว

๒.     จังหวะการพูดไม่ช้าหรือเร็วเกินไป
การพูดช้าเกินไป  ทำให้ผู้ฟังเบื่อหน่าย  ง่วงเหงาหาวนอน  พูดเร็วเกินไป  ทำให้ผู้ฟังติดตามไม่ทัน  และผิดพลาดได้ง่าย  ดั้งนั้นการพูดคล่องจึงไม่เป็นผลดีเสมอไป
วิธีพูดให้ได้จังหวะพอดี  คือการหัดพูดหรือหัดอ่านเป็นประโยค ๆ   เว้นวรรคตอนให้ถูก  พูดให้ชัดเจน ขาดคำขาดความ  อย่าตู่คำตู่ประโยค  อย่าพูดรัวเสียจนผู้ฟังรู้สึกเหนื่อยแทน
ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่พูดติดอ่างหรือพูดไม่ชัด  อย่าพยายามพูดเร็วเป็นอันขาด  ลดอัตราให้ช้าลงกว่าที่เคยพูดตามปกติ  มิฉะนั้นผู้ฟ้งจะฟังไม่รู้เรื่อง

๓.      อย่าพูดเอ้อ-อ้า
       ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องพูดคำเอ้อหรือคำอ้า    เพราะไม่ผลดีใด ๆ ทั้งสิ้น  โดยมากพูดติดเอ้อ-อ้ากันแทบทุกประโยค   มีทั้งอย่างสั้นและอย่างยาว   น่ารำคาญสิ้นดี    บางคนติดมาโดยไม่มีเหตุผลอะไร  นึกว่ามันเป็นของโก้เก๋   บางคนติดมาเพราะคิดอะไรไม่ทัน    ก็เอาคำเอ้-อ้า บรรจุเข้าไปตามช่องว่างต่าง ๆ     บางคนเลียนแบบนักพูดดัง ๆ     ก็น่าแปลกใจว่าสิ่งที่ดี ๆ ทำไมไม่เลียน  มาเลียนเอาแต่คำเอ้อ-อ้า
       ผลเสียของการพูดเอ้อ-อ้า  คือเสียเวลา  เสียรสชาติของการพูด  ทำให้ผู้ฟังรำคาญและบางครั้งคำว่าอ้า   อาจทำให้ประโยคทั้งประโยคเสียความหมายไปเลยก็ได้  ทางที่ดีควรตัดออกให้เหลือน้อยที่สุด  หรือไม่มีเลยยิ่งดี  ติดขัดก็เว้นจังหวะไป
        การหยุดบ้างเป็นบางครั้ง   กลับเป็นผลดีมากกว่าการพูดไม่ติดขัดเสียด้วยซ้ำ              จึงไม่จำเป็นต้องบรรจุ ๒ คำนี้เข้าไปเลย ไม่ว่ากรณีใด ๆ
       พึงระลึกไว้เสมอว่า เอ้อ – เสียเวลา    อ้าเสียคน

๔.     อย่าพูดเหมือนอ่านหนังสือหรือท่องจำ
ท่วงทำนองแบบอ่านหนังสือหรือท่องจำ  คือ พูดคล่องเป็นเรือล่องตามน้ำ  พูดไม่มีจังหวะจะโคน ไม่มีชีวิตชีวา  ติดจะเร็วไปนิดและตาเหม่อลอย คล้ายกับกลัวจะลืมที่ท่องมา   พอถึงตอนที่ติดขัดนึกไม่ออกก็เสียขบวนไปเลย
บางครั้งพูดผิดแล้วมัวทวนซ้ำใหม่  จนผู้ฟังจับได้ว่าท่องจำมาพูด   แทนที่จะหาทางพลิกแพลงประโยค หรือพูดดัดแปลงที่ผิดให้กลายเป็นถูก     ส่วนมากการพูดแบบนี้มักมีคำว่า    ขอโทษ ปนอยู่ประปราย เช่นเดียวกับนักเรียนอ่านออกเสียงหน้าชั้น
ทางที่ดีควรหัดพูดในลีลาสนทนา  คือ  พูดไปนึกไป  ถ่ายทอดความคิดโดยตรงจาก       ผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง


๕.     พูดด้วยความรู้สึกที่จริงใจ
ต้องใส่ความกระตือรือร้น  ใส่อารมณ์และความรู้สึกลงไป  อย่าพูดราบเรียบโดย        ใช้เสียงทำนองเดียว  ผู้ฟังไม่ใช่หัวหลักหัวตอ  ไม่ใช่ขอนไม้  ที่จะมานั่งฟังเรื่องราวอันจืดชืด        ไม่เป็นรสของท่าน   พยายามเตือนตัวเองตลอดเวลาว่า  กำลังพูดอยู่ต่อหน้าคนซึ่งมีชีวิตจิตใจ          มีความรู้สึกตอบสนอง
การพูดที่จริงใจจะออกมาในรูปของการเน้นหนักเบา  เสียงสูงเสียงต่ำ  การเน้นจังหวะ  การรัวจังหวะ ตลอดจนการหยุดเล็กน้อยก่อนหรือหลังการพูดที่สำคัญ ๆ
สิ่งเหล่านี้แสร้งทำไม่ได้  ต้องอาศัยการฝึกซ้อม  การคุ้นเวที  การปลุกความรู้สึกของตนเองให้มีความรู้สึกและเชื่อตามนั้นจริง ๆก่อน  จึงจะสามารถถ่ายทอดอย่างมีชีวิตชีวาให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกคล้อยตามได้
มีคำเตือนที่น่าจดจำอยู่ว่า
อย่าพูดจนกว่าท่านจะมี ความเข้าใจ ในเรื่องที่ท่านจะพูด
 อย่าพูดจนกว่าท่านจะมี ความเชื่อ  เรื่องที่ท่านพูดและอย่าพูดจนกว่าท่านจะมี       ความรู้สึกตาม เรื่องที่ท่านพูด



ความรู้สึกที่จริงใจมิใช่การระบายอารมณ์
            ผู้พูดที่กลายเป็นคนเจ้าอารมณ์  จะไม่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากผู้ฟังเลยเป็นอันขาด
นักพูดที่ดีย่อมไม่สักแต่ใช้อารมณ์อย่างเดียว   แต่ต้องรู้จักใช้สติ ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในแนวทาง ที่จะช่วยสนับสนุนประเด็นของตนด้วย  
การรู้จักใช้อารมณ์ในขณะที่พูด  จะเป็นเครื่องสนับสนุนความมุ่งหมายของผู้พูดที่จะช่วยผูกมัดใจผู้ฟังได้สำเร็จ
            ปฏิกริยาที่เกิดขึ้น ขณะผู้พูดระบายอารมณ์ คือผู้พูดเหนื่อย  ผู้ฟังหัวเราะ
            ปฏิกริยาที่เกิดขึ้น ขณะผู้พูดพูดจากความจริงใจ คือผู้พูดไม่เหนื่อย  ผู้ฟังเงียบกริบ
            ในการพูด เราจึงพูดอย่างราบเรียบเรื่อยเฉื่อยไม่ได้  ต้องสอดใส่ความรู้สึกและอารมณ์ลงไป  อาศัยขั้นตอนการจูงใจ  เพื่อชักจูงให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมไปกับเราจนถึงจุดสุดยอดของสุนทรพจ

การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ โดยท่าน ว วชิรเมธี




1) พูดตามจุดมุ่งหมายของการพูดจรรโลงใจ ให้เหมาะกับสถานการณ์ โอกาส เวลาในการพูด
2) พูดโดยคำนึงถึงผู้ฟังผู้พูดควรพูดให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่สูงส่งดีงามและชี้ให้เห็นถึงอุดมคติ หรือให้เห็นแนวทางในการดำเนินชีวิตจะทำให้ได้รับคุณค่าและประโยชน์การฟัง
3) สร้างบรรยากาศในการพูด โดยแทรกอารมณ์ขันที่ทำให้ผู้ฟังผ่อนคลายหรือมีอารมณ์สุนทรี
4) ใช้ถ้อยคำภาษา อ้างอิง คำคม หรือยกตัวอย่างต่างๆ เป็นอุทาหรณ์ที่ชัดเจนและตรงกับประสบการณ์ ความสนใจ และทัศนคติของผู้ฟังประเภทและตัวอย่างการพูดจรรโลงใจการพูดจรรโลงใจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- พูดจรรโลงใจให้คลายทุกข์ การพูดจรรโลงใจให้บุคคลที่มีความทุกข์ได้คลายทุกข์จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทำให้บุคคลมีกำลังใจที่จะต่อสู้อุปสรรคต่อไป การพูดจรรโลงใจจึงช่วยปลุกปลอบใจให้ผู้มีความทุกข์ มีกำลังใจที่จะสร้างสรรค์ต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยไม่ท้อถอยแม้จะมีอุปสรรคสักเพียงใด
- พูดจรรโลงให้เพิ่มสุข การพูดจรรโลงให้ผู้ฟังมีความสุขการทำได้โดยการบอกเล่าเรื่องที่สนุกสนานแต่มีสาระประโยชน์ผู้ฟังจะเกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน และมองเห็นโลกนี้สวยงามน่าอยู่ ในขณะเดียวกันก็ได้รับแนวคิดที่ดีจากการฟังอีกด้วยเรื่องที่นำมาพูดจรรโลงใจให้ผู้ฟังมีความสุข ได้แก่ นิทานสนุกๆ การแนะนำหนังสือหรือแนะนำให้ฟังเพลงหรือดูละคร การท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ เป็นต้น
- พูดจรรโลงใจให้คติข้อคิด การพูดจรรโลงใจให้คติข้อคิดแก่ผู้ฟัง เป็นการพูดที่ทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจที่จะทำความดีหรือนำข้อคิดต่าง ๆ จากการฟังไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้การพูดให้คติข้อคิดมักจะมีลักษณะเป็นการพูดสั่งสอน หรือให้โอวาทในโอกาสสำคัญๆหรือเมื่อเกิดเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดขึ้น ซึ่งผู้พูดจะนำเอาเหตุการณ์นั้นมาบอกเล่าแก่ผู้ฟัง โดยมีจุดมุ่งหมายในการพูดเพื่อให้ผู้ฟังได้แง่คิดและนำข้อคิดต่าง ๆ ไปพิจารณา หรือนำไปปฏิบัติต่อไ

ตัวอย่างการแนะนำตัว